วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Nai Khanom Tom :Famous Muay Thai Boxers


In 1774 Nai Khanohm Tom was famous for his battle against a group of Burmese. Nai Khanom Tom was a prisoner of war in Burma. The Burmese had captured him when they sacked and burnt Thailand's ancient capital Ayutthaya. Nai Khanom Tom must have been a great fighter. Without pause, he took them on one by one through a battering and bruising contest. He defeated ten of Burma's best. King Mangra was one of the first to applaud the feat he had witnessed. 'Every part of the Thai is blessed with venom, even with his bare hands he can fell nine or ten opponents.' The King gave Nai Thanom Tom his freedom and he retuned to Ayutthaya. and a heroes welcome. The army fostered Muay Thai. Soldiers have trained and used the techniques for as long as there has been an army in Thailand. For the military it has always been the close combat fighting skill, the martial art of the battlefield. When a Thai soldier fights hand to hand he uses Muay Thai. But then so does every Thai person, male or female. Watching it, learning it, copying it is a part of Thai childhood. It always has been. Muaythai became the favourite sport and pastime of the people, the army and the King. Historical sources show that people from all walks of life flocked to training camps. Rich, poor, young and old all wanted some of the action. Every village staged its prize fights and had its champions. Every bout became a betting contest as well as a contest of local pride. The betting tradition has remained with the sport and today large sums are wagered on the outcome of fights. Muaythai compettition was an activity that earned income for boxers throughout Sukhothai, Ayutthaya and Rattanakosin periods.


นายขนมต้ม

นายขนมต้ม (พ.ศ. 2293 - ?) เป็นนักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา เกิดที่ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายเกิด และนางอี่ มีพี่สาวชื่อนางเอื้อย ทั้งพ่อแม่และพี่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และต้องไปอยู่วัดตั้งแต่เล็ก นายขนมต้มถูกพม่ากวาดต้อนไปเชลยในระหว่างเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

นายขนมต้มมีชื่อเสียงในเชิงมวยเป็นที่เลื่องลือ ในพงศาวดารกล่าวว่า

เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ 17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า "นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก" พระเจ้ามังระจึงตรัสสั่งให้เอาตัวนายขนมต้ม นักมวยดีมีฝีมือตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาถวาย พระเจ้ามังระได้ให้จัดมวยพม่าเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้ม โดยจัดให้ชกต่อหน้าพระที่นั่ง ปรากฏว่านายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็แพ้ถึงเก้าคนสิบคนก็สู้ไม่ได้ พระเจ้ามังระทอดพระเนตรยกพระหัตถ์ตบพระอุระตรัสสรรเสริญนายขนมต้มว่า “คนไทยนี้มีพิษสงรอบตัว แม้มือเปล่ายังเอาชนะคนได้ถึงเก้าคนสิบคน นี่หากว่ามีเจ้านายดี มีความสามัคคีกัน ไม่ขัดขากันเอง และไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัว และโคตรตระกูลแล้ว ไฉนเลยกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่ข้าศึก ดั่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
เหตุการณ์ที่นายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 จึงถือว่าวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันเกียรติประวัติของนักมวยไทย ถือเป็น วันมวยไทย ชาวพระนครศรีอยุธยาได้พร้อมใจกันสร้าง "อนุสาวรีย์นายขนมต้ม" ไว้ที่บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คลิปวีดีโอ http://www.youtube.com




widgeo.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น